Valentine’s day

Posted: กุมภาพันธ์ 18, 2014 in Uncategorized

วันแห่งความรัก ประวัติวันวาเลนไทน์ Valentine’s Day

                      วันวาเลนไทน์ วันแห่งความรักนวลสงวนตัว

วันแห่งความรัก หรือวันวาเลนไทน์ Valentine’s Day แท้จริงแล้วคือวันรักนวลสงวนตัว ตามเจตนารมณ์เดิม ว่าเป็นวันแสดงความรักแก่เพื่อนมนุษย์ ในวันวาเลนไทน์เราควรแสดง ความรัก ความปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ แต่ในเมื่อยุคสมัยได้บิดเบือนเจตนารมณ์ดั้งเดิมให้กลายเป็นเรื่องของเพศ สัมพันธ์ไป เราต้องช่วยกันนำกลับไปสู่จุดดั้งเดิม คือสร้างความเข้าใจ และแบบแผนอันดีงามขึ้นมาใหม่ในวันวาเลนไทน์

Valentine’s day1 Valentine’s day2 Valentine’s day3

                                                                ความหมายของวันมาฆบูชา

                                       คำว่า “มาฆะ” นั้น เป็นชื่อของเดือน 3 ย่อมาจากคำว่า “มาฆบุรณมี” หมายถึง การบูชาพระในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตาม      ปฏิทินของอินเดีย หรือเดือน 3

                                                     ความสำคัญวันมาฆบูชาและประวัติวันมาฆบูชา 

                                       ความสำคัญของวันมาฆบูชา คือเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง “โอวาทปาติโมกข์”แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้มาแล้วเป็นเวลา 9 เดือน ซึ่งหลักคำสอนนี้เป็นหลักการ และวิธีการปฏิบัติต่างๆ หากสรุปเป็นใจความสำคัญ จะมีเนื้อหาว่า “ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้บริสุทธิ์”

                                                          ประวัติวันมาฆบูชาในประเทศไทย

                                      พิธีทำบุญวันมาฆบูชานี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีมาในสมัยใด อย่างไรก็ตามในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” อันเป็นบทพระราชนิพนธ์ของ “พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” มีเรื่องราวเกี่ยวกับการประกอบราชกุศลมาฆบูชาไว้ว่า

                                                makabucha                   ดาวน์โหลด

                                      ช่วงเช้า : เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ ควรไหว้พระ นั่งสมาธิ ทำจิตให้สงบหลังจากตื่นนอน และเตรียมถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระภิกษุสามเณรตามความ

เหมาะสม

                            ช่วงสาย: เดินทางไปวัดที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อจะทำบุญ และสมาทานรักษาศีล 5หรือ ศีล 8 บ้าง

                                     ช่วงบ่าย : ฟังพระธรรมเทศนาในวัดที่จัดให้มีพิธีเทศน์ในตอนกลางวัน หรือไปนั่งสมาธิตามความสะดวก เหมาะสม

                                     ช่วงเย็น : เตรียมตัวเพื่อเวียนเทียนเป็นพุทธบูชา โดยเตรียมดอกไม้ ธูปเทียน หรือบางวัด มีการจัดเตรียมและบริการไว้ ซึ่งจะเวียนรอบพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระปฏิมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

                                                                      1379551_1405967622989593_1234944164_n5555555555ศักรินทร์

ประวัติของเพลงชาติไทย

Posted: กุมภาพันธ์ 11, 2014 in Uncategorized

ประวัติความเป็นมาของเพลงชาติไทย

เพลงชาติไทย

เพลง ชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ แสดงความเป็นเอกราชของชาติ ไม่เป็นเมืองขึ้นของใคร เป็นแหล่งรวมใจของคนในชาติให้เป็นจุดเดียวกันสร้างความรู้สึก สำนึก ในความเป็นพี่น้อง สร้างความภูมิใจในศักดิ์ศรีสิทธิเสรีภาพระหว่างคนในชาติ และเพื่อปลุกใจให้เกิดความรักชาติ

ความ คิดเรื่องเพลงประจำชาติ เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ โดยได้รับ อิทธิพลตะวันตก ซึ่งมีเพลง ประจำชาติมาก่อน โดยเฉพาะอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ โดย นายทหารอังกฤษ ๒ คน ซึ่งเข้ามาเป็นครูฝึกทหารเกณฑ์ ในวังหลวงและวังหน้าในปลาย รัชกาลที่ ๔ ปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ชื่อร้อยเอกอิมเปย์ (Impey) และร้อยเอกน๊อกซ์ (Thomas G. Knox) นายทหารอังกฤษทั้ง ๒ นายนี้ ได้ใช้เพลง กอดเสฟเดอะควีน (God Save the Queen) เป็นเพลงฝึกสำหรับทหารแตร และอังกฤษได้ใช้เพลงกอดเสฟเดอะควีนนี้ เป็นเพลง ประจำชาติ

ในการ ฝึกทหารของไทยสมัยนั้น ใช้แบบอย่างของประเทศอังกฤษหมด ดังนั้นเพลงกอด เสฟเดอะควีน (God Save the Queen)จึงใช้เป็นเพลงเกียรติยศ ถวายความเคารพต่อพระ มหากษัตริย์ ใช้สำหรับกองทหารไทยในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ถึง ๒๔๑๔ เรียกกันว่า “เพลงสรรเสริญพระบารมีอังกฤษ”

พระยาศรีสุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) ได้ประพันธ์เนื้อร้องขึ้นมาใหม่โดยใช้ เนื้อ เพลงกอดเสฟเดอะควีนเดิม และตั้งชื่อเพลงขึ้นใหม่ว่า “จอมราชจงเจริญ”นับเป็นเพลงชาติฉบับแรกของประเทศสยาม

ในปี พ.ศ. ๒๔๑๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาส เมืองสิงค โปร์ ในขณะนั้นสิงคโปร์ยังเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษอยู่ กองทหารดุริยางค์ สิงคโปร์ บรรเลงเพลงกอดเสฟเดอะควีน เพื่อถวายความเคารพ

พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงตระหนักดีว่าประเทศมีความจำเป็น จะต้องมีเพลงชาติที่เป็นของตัวเองขึ้น เพื่อแสดงถึงความเป็นเอกราชของชาติครั้นเมื่อทรง เสด็จกลับถึงพระนคร จึงได้โปรดให้ตั้งคณะครูดนตรีไทยขึ้น เพื่อทรงปรึกษา หาเพลงชาติิที่มีความเป็นไทยมาใช้แทนเพลงกอดเสฟเดอะควีน คณะครูดนตรีไทย ได้เลือก เพลงทรง พระสุบันหรือเรียกอีกอย่างว่า เพลงบุหลันลอยเลื่อน ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ โดยนำมาเรียบเรียงใหม่ ให้มีความเป็นสากลขึ้น โดย เฮวุดเซน(Heutsen) นับเป็น เพลงชาติไทยฉบับที่สอง ใช้บรรเลงในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๑๔-๒๔๓๑

สำหรับเพลงชาติไทยฉบับที่สาม คือ เพลงสรรเสริญพระบารมี(ฉบับปัจจุบัน)ประพันธ์ โดย ปโยตร์ สชูโรฟสกี้(Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย คำร้องเป็นพระนิพนธ์ ของสมเด็จฯ กรมพระนริศรานุวัตติวงศ์ ใช้บรรเลงเป็นเพลงชาติ ในระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๑-๒๔๗๕

 เพลง ชาติไทยฉบับที่สี่ คือ เพลงชาติมหาชัย ใช้เป็นเพลงชาติ ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง การปกครองปี พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยอาศัยทำนองเพลงมหาชัย ส่วนคำร้องนั้น ประพันธ์โดย เจ้า พระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เพื่อใช้ขับร้อง และบรรเลงปลุกเร้าใจ ประชาชนก่อให้เกิดความรักชาติและสร้างความสามัคคี ในระหว่างที่มีการเปลี่ยนแปลง ทางการเมือง

เพลงชาติไทยฉบับที่ห้า คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ผู้ประพันธ์ทำนองมีคำร้องประ พันธ์โดยขุนวิจิตรมาตรา(สง่า กาญจนาคพันธุ์) ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๗

เพลง ชาติฉบับที่หก คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เพิ่มคำร้องของนายฉัน ขำวิไล เข้าต่อจากคำร้องของขุนวิจิตรมาตรา ใช้เป็นเพลงชาติระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๗-๒๔๘๒ เป็นเพลงชาติที่เป็นฉบับของทาง “ราชการ” ฉบับแรก

เพลงชาติฉบับปัจจุบัน คือ เพลงชาติฉบับพระเจนดุริยางค์ ที่เปลี่ยนคำร้องประพันธ์โดย พันเอกหลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ใช้เป็นเพลงชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ กระทั่งปัจจุบัน ครั้งนั้นทางรัฐบาลได้ประกาศประกวด เพลงชาติขึ้นใหม่ ในเดือน กันยายน ผลประกวดปรากฏ ผู้ชนะได้แก่ นายพันเอกหลวง สารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ซึ่งส่ง ในนามของ กองทัพบก

รัฐบาล ได้ประกาศใช้เพลงชาติไทย ฉบับปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒

เพลงชาติไทยในปัจจุบันเกิดขึ้นในรัชกาลใด  ใครเป็นผู้แต่ง

เพลงชาติฉบับที่เจ็ด หรือฉบับปัจจุบันเกิดขึ้นใน พ.ศ.2477 รัฐบาลของจอมแปลก พิบูลสงคราม ที่ได้ประกาศให้มีการประกวดเนื้อร้องของเพลงชาติขึ้นมาใหม่ ผลการประกวดเพลงชาติปรากฏว่าเนื้อร้องฉบับของ พ.อ.หลวงสารานุประพันธ์(นวล ปาจิณพยัคฆ์) ส่งในนามกองทัพบกทางสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศยกเลิกเนื้อเพลงชาติฉบับของ ขุนวิจิตรมาตรา และ ของ นายฉันท์ ขำวิไลและให้ใช้เนื้อร้องที่ชนะการประกวดและทำนองประพันธ์โดยพระเจนดุริยางค์ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคมพ.ศ.2482 เป็นต้นไป

เพราะเหตุใด จึงต้องร้องเพลงชาติไทยในเวลา 08.00 น. และ 18.00 น

จอมพล ป. พิบูลสงคราม สมัยท่านเป้นนายกได้กำหนดให้
เคารพธงชาติทุกวัน เวลา 8 โมงเช้าและ 6โมงเย็น

อ้างอิงจาก
ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 4 เรื่องการเคารพธงชาติ เพลงชาติ
และเพลงสรรเสริญพระบารมี ออกประกาศวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2482 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
56 ภาค 1 พ.ศ. 2482 วันที่ 9 กันยายน หน้า 1611) มีใจความโดยย่อว่า รัฐบาลได้พิจารณาเห็น
ว่าธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นสิ่งสำคัญประจำชาติพึงได้รับความเชิดชู
เคารพจากชาวไทย ฉะนั้น เมื่อได้เห็นการชักธงชาติขึ้นหรือลงจากยอดเสาตามสถานที่ราชการใน
เวลาปกติ หรือได้ยินเสียงแตรเดี่ยวหรือนกหวีดเป่าคำนับ หรือให้อาณัติสัญญาการชักธงชาติขึ้น
หรือลดลง ให้ทุกคนแสดงความเคารพตามระเบียบเครื่องแบบของตนหรือประเพณีนิยม เมื่อได้ยิน
เพลงชาติซึ่งราชการบรรเลงในราชการ หรือบุคคลบรรเลงในงานพิธีอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ให้ผู้ที่
ร่วมงานหรืออยู่ในวงงานนั้นแสดงความเคารพ โดยปฏิบัติตามระเบียบเครื่องแบบหรือตาม
ประเพณีนิยม


คำร้อง: ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)

 

ทอง
ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตแดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา
ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ
ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตลุยเลือดหมายมุ่งผดุงไทย
สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

บุคคลสำคัญของโลก

Posted: กุมภาพันธ์ 4, 2014 in Uncategorized

พุ่มพวงพุ่มพวง ดวงจันทร์ (4 สิงหาคม พ.ศ. 250413 มิถุนายน พ.ศ. 2535) ชื่อเล่น ผึ้ง หรือชื่อจริง รำพึง จิตรหาญ นักร้องเพลงลูกทุ่ง เจ้าของฉายา ราชินีลูกทุ่ง ได้ชื่อว่ามีน้ำเสียงออดอ้อน หวาน จำเนื้อร้องได้แม่นทั้งที่ไม่รู้หนังสือ และเป็นแม่แบบให้กับนักร้องรุ่นหลัง

แฟนคนแรกของพุ่มพวงคือ ธีระพล แสนสุข ระหว่างที่พุ่มพวง ดวงจันทร์ เทใจทุ่มกับงานอย่างเต็มที่ ธีระพลเริ่มปันใจให้กับสลักจิต ดวงจันทร์ จึงทำให้ความรักของทั้งคู่จบลง แต่ด้านธุรกิจยังคงร่วมงานกันอยู่ แต่ในปี 2530 ธีระพล แสนสุข ก็ถูกน้องชายพุ่มพวง ดวงจันทร์ ยิงตาย

ในปี พ.ศ. 2527 พุ่มพวงจดทะเบียนสมรสกับนายไกรสร ลีละเมฆินทร์ อดีตพระเอกภาพยนตร์ ที่ใช้ชื่อในวงการว่า ไกรสร แสงอนันต์ ต่อมาพุ่มพวงฝึกหัดเขียนหนังสือจนสามารถเขียนชื่อตัวเองได้ เพื่อประโยชน์ทางนิติกรรมต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2530 มีบุตรชายชื่อ สันติภาพ (ต่อมาเปลี่ยนชือเป็น สรภพ) หรือ “เพชร” หรือ “บ่อยบ๊อย” ลีละเมฆินทร์[2] ซึ่งก็เป็นนักร้องลูกทุ่ง นอกจากนี้ยังมี จันทร์จวง ดวงจันทร์ ดวงใจ ดวงจันทร์ และสลักจิต ดวงจันทร์ น้องสาวพุ่มพวงก็เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งเช่นกัน

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (เยอรมัน: Albert Einstein – อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์) (14 มีนาคม พ.ศ. 242218 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก “การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี”หลังจากที่ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี พ.ศ. 2458 เขาก็กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยธรรมดานักสำหรับนัก วิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ในปีต่อ ๆ มา ชื่อเสียงของเขาได้ขยายออกไปมากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ไอน์สไตน์ ได้กลายมาเป็นแบบอย่างของความฉลาดหรืออัจฉริยะ ความนิยมในตัวของเขาทำให้มีการใช้ชื่อไอน์สไตน์ในการโฆษณา หรือแม้แต่การจดทะเบียนชื่อ “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” ให้เป็นเครื่องหมายการค้า

ไมเคิล แจ็คสัน

ไมเคิล แจ็กสัน (อังกฤษ: Michael Jackson) (29 สิงหาคม ค.ศ. 195825 มิถุนายน ค.ศ. 2009) มีชื่อเต็มว่า ไมเคิล โจเซฟ แจ็กสัน (อังกฤษ: Michael Joseph Jackson) ได้รับการขนานนามว่าเป็น ราชาเพลงป็อป (King of Pop)[3]

เขาเป็นลูกคนที่ 7 ของครอบครัวแจ็กสัน ปรากฏตัวครั้งแรกในระดับอาชีพด้านดนตรีตั้งแต่อายุ 11 ปี โดยเป็นหนึ่งในสมาชิกวงเดอะแจ็กสันไฟฟ์ ในปี 1969 เขาเริ่มมีผลงานเดี่ยวในปี 1971 ขณะที่ยังคงเป็นสมาชิกของวงอยู่ ในปี 1982 มีผลงานอัลบั้มที่ชื่อ Thriller ซึ่งถือเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดตลอดกาล[4] และสี่อัลบั้มเดี่ยวที่เหลือก็ยังถือว่าเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดอัลบั้มหนึ่ง อันประกอบด้วยชุด Off the Wall (1979), Bad (1987), Dangerous (1991) และ HIStory (1995)ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เขาเริ่มมีความโดดเด่นในวงการเพลงป็อป และถือเป็นชาวแอฟริกัน-อเมริกัน คนแรกที่มีแฟนเพลงมากมายผ่านทางช่องเอ็มทีวี ความนิยมของเขามาจากการออกอากาศมิวสิกวิดีโอทางช่องเอ็มทีวี อย่างเช่นเพลง “Beat It“, “Billie Jean” และ “Thriller— เพลงนี้ได้รับเอ่ยถึงว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมิวสิกวิดีโอจากอุปกรณ์การ ประชาสัมพันธ์ไปเป็นรูปแบบของศิลปะ— มิวสิกวิดีโอเหล่านี้ได้ช่วยให้ช่องที่เพิ่งเปิดใหม่นี้มีชื่อเสียงเพิ่ม ขึ้น วิดีโอเพลง “Black or White” และ “Scream” ก็ยังคงเปิดบ่อยทางช่องเอ็มทีวีในคริสต์ทศวรรษ 1990 ด้วย ลีลาบนเวทีของแจ็กสันและมิวสิกวิดีโอ แจ็กสันสร้างความโด่งดังกับท่าเต้นซับซ้อนโดยใช้ร่างกายมากมายหลาย ๆ ท่า อย่างเช่นท่าเต้นหุ่นยนต์และท่าเต้นมูนวอล์ก ส่วนเอกลักษณ์ด้านดนตรีและเสียงร้องของเขายังเป็นอิทธิพลให้กับศิลปินแนวฮิปฮอป ป็อป และอาร์แอนด์บี ให้อีกหลายคน อิทธิพลเพลงของเขามีแพร่กระจายไปสู่คนหลายรุ่น

บุคคลสำคัญของโลก

Posted: มกราคม 28, 2014 in Uncategorized

วันเด็กแห่งชาติ 2557

Posted: มกราคม 28, 2014 in Uncategorized

วันเด็กสำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติที่รัฐบาลไทยกำหนดไว้ คือ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตนและอยู่ในระเบียบวินัยอันดี และเพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก  นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่า ทุกๆ ปี ในวันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะมอบคำขวัญวันเด็ก แสดงให้เห็นว่าเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ามากที่สุดของชาติ เราจึงได้ยินคำพูดอยู่บ่อยๆ ว่า เด็กคืออนาคตของชาติ เด็กฉลาด ชาติเจริญ”

images1images2images3

การ์ดปีใหม่57

รูปภาพ  —  Posted: มกราคม 14, 2014 in Uncategorized

มุมมองของโรงเรียน

Posted: ธันวาคม 3, 2013 in Uncategorized

 

โรงเรียน         มุม      ผู้เรียน

โรงเรียนเวตวันวิทยาของเราน่าอยู่สะอาดเรียบร้อยน่าอยู่มีต้นไม้ดอกไม้สวยงาม หน้าเสาธงเราก็เป็นร่มแต่ละห้องก็สวยงาม

 

กลอนวันพ่อ

Posted: ธันวาคม 3, 2013 in Uncategorized

 รูปพ่อ

ห้าสิบเจ็ดพรรษาลุล่วงแล้ว                            โอ้ดวงแก้วบรมราชกุมารีศรีสยาม

เดินตามติดรอยพระบาททุกโมงยาม             ทุกเขตคามสนองบาทบงองค์ภูมี

ขอตรัยรัตน์ป้องผองภัยไม่กราลกรํ้า              ขอน้อมนำจำสมหมายทุกวิถี

ขอปวงเทพจงคุ้มครองผองความดี                ขอจงมีสุขพระเจริญทุกคือวัน

ขอพระชนมายุกาลยืนนานยิ่ง                           ขอทุกสิ่งทุกการกิจคิดสมหวัง

อยู่เป็นมิ่งเป็นขวัญคู่เวียงวัง                             เป็นพลังรวมใจไทยไปนิรีนด์

กำหนดวันลอยกระทง

วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขึ้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง

ประวัติความเป็นมาของวันลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

ใน สมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า

ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศที่ว่า

“ครั้น วันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย…”

เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า “ตั้งแต่ นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน” พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า “เรือลอยประทีป” ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย